Posts Tagged ‘ซักส้าว’

http://www.dailynews.co.th/article/44/82476

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2553 เวลา 00:00 น.

​พจนานุกรม​ ​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน​ พ.ศ. ๒๕๔๒ ​ให้​นิยาม​ ​มุข​บา​ฐ, ​มุข​ปาฐะ​  [​มุก​ขะ​บาด​, ​มุก​ขะ-] ​ว่า​ ​การ​ต่อ​ปาก​กัน​มา​, ​การ​บอก​เล่า​ต่อ​ ๆ ​กัน​มา​โดย​มิ​ได้​เขียน​เป็น​ลาย​ลัก​ษณ์​อักษร​, ​เช่น​ ​เรื่อง​นี้​สืบ​มา​โดย​มุข​บา​ฐ ​เรื่อง​นี้​เป็น​มุข​ปาฐะ​ ​บท​กล่อม​เด็ก​และ​บท​เด็ก​เล่น​ส่วน​ใหญ่​เป็น​มุข​ปาฐะ​ ​ที่​ร้อง​หรือ​เล่า​สืบ​ต่อ​กัน​มา​ ​บท​เด็ก​เล่น​อีก​บท​หนึ่ง​ที่​ผู้​เขียน​เคย​ได้​ยิน​ก็​คือ​ ​ซักส้าว​ ​มี​บท​ร้อง​ดัง​นี้​ ​ซัก​เอ๋ย​ ​ซักส้าว​ ​มะนาว​โตงเตง​ ​ขุน​นาง​มา​เอง​ ​ว่า​จะ​เล่น​ซักส้าว​ ​มือ​ใคร​สั้น​เอา​เถาวัลย์​ต่อ​เข้า​ ​มือ​ใคร​ยาว​ ​สาว​ได้​สาว​เอา​ ​คำ​ซักส้าว​นี้​ ​บาง​คน​ก็​เขียน​เป็น​ซัก​เส้า​  ​แต่​พจนานุกรม​ ​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน​ พ.ศ. ๒๕๔๒ ​เก็บ​ไว้​ที่​คำ​ซักส้าว​และ​นิยาม​ว่า​ ​ชื่อ​การ​เล่น​ชนิด​หนึ่ง​ของ​เด็ก​โดย​จับ​แขน​ดึง​กัน​ไป​มา​

​มุข​ปาฐะ​ที่​เป็น​บท​กล่อม​เด็ก​ที่​เรา​ได้​ยิน​กัน​บ่อย​ ​ใช้​ร้อง​กล่อม​เด็ก​มาท​ุก​ยุค​ทุก​สมัย​ ​คง​เป็น​บท​จันทร์​เจ้า​ขา​ขอ​ข้าว​ขอ​แกง​ ​ตาม​ที่​ผู้​เขียน​เคย​ไค้​ยิน​มา​และ​เคย​ร้อง​เล่น​สมัย​เด็ก​มี​บท​ร้อง​ดัง​นี้​ ​จันทร์​เอ๋ย​จันทร์​เจ้า​ ​ขอ​ข้าว​ขอ​แกง​ ​ขอ​แหวน​ทอง​แดง​ ​ผูก​มือ​น้อง​ข้า​ ​ขอ​ช้าง​ขอม​้า ​ให้​น้อง​ข้า​ขี่​ ​ขอ​เก้าอี้​ ​ให้​น้อง​ข้า​นั่ง​ ​ขอ​เตียง​ตั้ง​ ​ให้​น้อง​ข้า​นอน​ ​ขอ​ละคร​ ​ให้​น้อง​ข้า​ดู​ ​ขอ​ยาย​ชู​ ​เลี้ยง​น้อง​ข้า​เถิด​ ​ขอ​ยาย​เกิด​ ​เลี้ยง​ตัว​ข้า​เอง​ ​บท​ร้อง​นี้​แตก​ต่าง​เล็ก​น้อย​จาก​ที่​นิ​ยะ​ดา​ ​เหล่า​สุนทร​ ​ราช​บัณฑิต​ ​รวบ​รวม​ไว้​ใน​บท​ความ​เรื่อง​ เป​โมรา​ : ​การ​ตี​ความ​บท​กล่อม​เด็ก​ ​บท​ปลอบ​และ​บท​เด็ก​เล่น​ ​ซึ่ง​มี​บท​ร้อง​ดัง​นี้​ ​จันทร์​เจ้า​เอย​ ​ขอ​ข้าว​ขอ​แกง​ ​ขอ​แหวน​ทอง​แดง​ ​ผูก​มือ​น้อง​ข้า​ ​ขอ​ช้าง​ขอม​้า ​ให้​น้อง​ข้า​ขี่​ ​ขอ​เก้าอี้​ให้​น้อง​ข้า​นั่ง​ ​ขอ​เตียง​ตั้ง​ ​ขอ​ยาย​ซัง​ ​เลี้ยง​น้อง​ข้า​ที​ ​ขอ​ยาย​มี​ ​เลี้ยง​น้อง​ข้า​เถิด​ ​ขอ​ยาย​เกิด​ ​เลี้ยง​ตัว​ข้า​เอง​

​ทั้ง​นี้​ ​คง​เป็น​ลักษณะ​เฉพาะ​ของ​มุข​ปาฐะ​ที่​เป็น​การ​ต่อ​ปาก​กัน​มา​ ​จึง​ทำ​ให้​แตก​ต่าง​กัน​บ้าง​ ​แต่​ก็​ยัง​คง​เนื้อ​หา​หลัก​ที่​เหมือน​กัน​คือ​ ​พี่​เลี้ยง​พาน​้​อง​ชม​จันทร์​ ​และ​ถ้อย​คำ​ของ​บท​ร้อง​ที่​ไพเราะ​ ​อ่อน​หวาน​ ​คล้อง​จอง​กัน​ ​ผู้​เขียน​ไม่​อยาก​ให้​บท​กล่อม​เด็ก​เหล่า​นี้​เลือน​หาย​ไป​จาก​สังคม​ไทย​เลย​ค่ะ​.

​รัตติ​กาล​ ​ศรี​อำไพ​